Zusammenfassung der Ressource
การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
- 1. ความหมายของ การวางแผนดูแลสุขภาพ
- การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง
การกำหนดรูปแบบในการดูแลสุขภาพตามที่ต้องการ
รวมถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ
และแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
- การวางแผนดูแลสุขภาพจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ
และสร้างสัมพันธภาพ อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต
- 2. หลักการวางแผนและการปฏิบัติ ตามแผนดูแลสุขภาพ
- หลักการวางแผนแบบ Deming คือ
หลักการควบคุมคุณภาพที่เรียกว่า วงจรเดมมิง
(Deming) เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย
จึงต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ดังนี้
- 1. P (Plan) คือ การวางแผน
เพื่อตั้งเป้าหมาย
เลือกปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา
- 2. D (Do) คือ
การลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
- 3. C (Check) คือ
การตรวจสอบผลแล้วเปรียบเทียบผล
- 4. A (Action) คือ
การนำ�ผลการตรวจสอบมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
- หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ คือ หลักการที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้รับรู้ถึงแนวทางในการปฏิบัติ
ของตนเองว่าเป็นอย่างไร มีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง สิ่งใดที่ทำถูกต้อง
สิ่งใดที่ทำไม่ถูกต้อง โดยการให้คำชมเชยหรือกลังใจเมื่อผู้ปฏิบัติทำถูกต้อง
และบอกจุดบกพร่องเมื่อผู้ปฏิบัติทำไม่ถูกต้อง
ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันที
หลักการนี้ไม่เหมาะกับการดำเนินการเพียงผู้เดียว
จึงต้องอาศัยผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติร่วมกันช่วยสังเกตซึ่งกันและกันจึงจะมีประสิทธิภาพ
นักเรียนจึงต้อง เลือกใช้หลักการที่เหมาะสมกับตนเองและบุคคลในครอบครัว
- 3. วิธีการวางแผนดูแล สุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว
- 3.1 โภชนาการ
- การวางแผนรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม
จะส่งผลให้มีสุขภาพดี ซึ่งต้องรับประทานอาหาร
ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย
โดยกำหนดรายการอาหารแต่ละวัน
เพื่อให้ได้อาหารครบทั้ง 5 หมู่
ซึ่งอาจวางแผนกำหนดเป็นช่วงสัปดาห์
- 3.2 การออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายจะทำให้อวัยวะ
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคนจึงต้อง
ออกกำลังกาย โดยอาจปฏิบัติร่วมกันในครอบครัว
หรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดย
ศึกษารูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสม กับวัย
เพศ และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
ควรปฏิบัติครั้งละไม่ตํ่ากว่า 30 นาที สำหรับผู้ที่มี
โรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- 3.3 การพักผ่อน
- การพักผ่อนช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และสร้างเสริมร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น
การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ช่วยให้ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ
โดยระยะเวลาการนอนหลับ ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามวัย เช่น วัยทารกควรนอนวันละ
18-20 ชั่วโมง วัยเด็กและวัยรุ่น ควรนอนวันละประมาณ 8-9 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
ควรนอนวันละประมาณ 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับจึงต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัย
การทำกิจกรรมนันทนาการก็เป็นการพักผ่อนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะช่วยให้ผ่อนคลายอาร
- 3.4 การตรวจสุขภาพ
- ทุกคนในครอบครัวต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและบุคคลในครอบครัว
การวางแผนการตรวจสุขภาพนั้น จะแตกต่างไปตาม เพศและวัย
- 4. การสำารวจปัจจัยที่มีผล ต่อสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว
- เพื่อทราบสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมบุคคล สภาพร่างกาย กิจวัตรประจำวัน
การรับประทานอาหาร การพักผ่อน สภาพแวดล้อม สุขาภิบาล ซึ่งดำเนินการได้ดังนี้
- 4.1 สอบถามถึงสภาพของปัญหาสุขภาพที่เกิดกับแต่ละบุคคล
- 4.2 สืบค้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ จดบันทึก
หรือใช้แบบสอบถามอย่างง่าย ช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งการสำรวจอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
สำรวจข้อมูลบุคคล จะเก็บข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัวเป็นรายบุคคล สำรวจข้อมูลส่วนรวม
จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว
- 4.3 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวางแผนดูแลสุขภาพต่อไป
- 5. ประโยชน์ของการวางแผน ดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว5
- ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว มีดังนี้
- 5.1 ทำให้มองเห็นวิธีดำเนินการที่จะปฏิบัติหรือเลือกปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ
ทั้งการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว
- 5.2 ทำให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งของตนเองและบุคคล
ในครอบครัว
- 5.3 ลดภาวะความเจ็บป่วย ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นการป้องกันการเกิด
ภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเบื้องต้น
- 5.4 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว ลดภาระและประหยัดงบประมาณ
ในด้านการให้บริการสุขภาพหรือการรักษาพยาบาลของรัฐ
- 5.5 เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคม ลดปัญหาด้านการสาธารณสุข เพราะประชาชนมีสุขภาพดี