Zusammenfassung der Ressource
การช่วยฟื้นคืนชีพ
- ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation :
CPR) หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น
ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม
ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร
ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic
lifesupport)ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก
- ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ
(CPR)
- ภาวะหยุดหายใจ (respiratory arrest) และภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) -
เป็นภาวะที่มีการหยุดการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนเลือด
ส่วนมากมักจะพบว่ามีการหยุดหายใจก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และ
ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง จะทำให้เสียชีวิตได้
- สาเหตุของการหยุดหายใจ
- ทางเดินหายใจอุดตันจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ
การแขวนคอ การถูกบีบรัดคอ การรัดคอ เป็นต้น
ในเด็กเล็กสาเหตุจากการหยุดหายใจที่พบได้มากที่สุดคือ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ เมล็ดถั่ว เป็นต้น
มีการสูดดมสารพิษ แก็สพิษ ควันพิษ การถูกกระแสไฟฟ้าแรงสูงดูด การจมน้ำ
- การบาดเจ็บที่ทรวงอก ทำให้ทางเดินหายใจได้รับอันตรายและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
โรคระบบประสาท เช่น บาดทะยัก ไขสันหลังอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต
การได้รับสารพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ต่อยบริเวณคอ หน้า
ทำให้มีการบวมของเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและหลอดลมมีการหดเกร็ง
การได้รับยากดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคเคน บาร์บิทูเรต ฯลฯ โรคหัวใจ
เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน
มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะหายใจวายจากสาเหตุต่างๆ
- สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น
- หัวใจวายจากโรคหัวใจ จากการออกกำลังกายมากเกินปกติ
หรือตกใจหรือเสียใจกระทันหัน มีภาวะช็อคเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
จากการสูญเสียเลือดมาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ
ทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
การได้รับยาเกินขนาดหรือการแพ้
- ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
- 1.ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันที
จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
และช่วยป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร
- 2.ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า clinical death
การช่วยฟื้นคืนชีพทันทีจะช่วยป้องกันการเกิด biological death คือ
เนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจน ระยะเวลาของการเกิด biological death
หลังจาก clinical death ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไป มักจะเกิดช่วง 4-6 นาที
หลังเกิด clinical death ดังนั้นการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจึงควรทำภายใน 4 นาที
- ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
- การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
- การช่วยให้หายใจ
- การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง
- การปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
- 1.เมื่อพบคนนอนอยู่ คล้ายหมดสติ ต้องลองตรวจดูว่าหมดสติจริงหรือไม่
โดยการเรียกและเขย่าตัว เขย่าหรือตบที่ไหล่ ถ้าหมดสติจะไม่มีการโต้ตอบ หรือมีเสียงคราง
หรือมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย 2. ประเมินการหายใจโดยการทำ look listen and feel -
look คือ ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก และหน้าท้องว่ามีการยกตัวขึ้นหรือไม่ หรือ
หายใจหรือไม่ - listen คือ ฟังเสียงลมหายใจ
โดยเอียงหูของผู้ช่วยเหลือเข้าไปใกล้บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย
ว่าได้ยินเสียงอากาศผ่านออกมาทางจมูกหรือปากหรือไม่ - feel คือ สัมผัส
โดยการใช้แก้มของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับความรู้สึกว่ามีลมหายใจที่ผ่านออกจากปากหรือจมูก
อาจใช้สำลีหรือวัสดุบางเบาจ่อบริเวณจมูก
- 3. ถ้าพบว่าไม่หายใจให้เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น พร้อมทั้งจัดท่านอนหงายราบบนพื้นแข็ง
เริ่มขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นตอนที่ 1 Airway โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยวิธี head tilt chin lift หรือ
jaw thrust maneuver (ถ้ามีการหักของกระดูกสันหลังส่วนคอ) - ดูภาพ ในหัวข้อ Airway 4. ทดสอบการหายใจโดยการทำ
look listen and feel อีกครั้งหนึ่งถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำขั้นตอนต่อไปคือ ขั้นตอนที่ 2 Breathing คือ เป่าลมหายใจ 2 ครั้ง - ดูภาพ
ในหัวข้อ Breathing 5. ทดสอบว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ด้วยการจับชีพจร ถ้าไม่มีการเต้นของหัวใจ เป่าปากอีก 2 ครั้ง แล้วทำ
cardiac massage ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที โดยการนับ 1 และ2 และ 3 และ………จนถึง 30 ครั้ง - ดูภาพในหัวข้อ
Circulation
- 6. ทำสลับกันอย่างนี้ ไปจนครบ 4 รอบ (1 นาที) จึงประเมินการหายใจและการเต้นของชีพจร
และประเมินอีก ทุก 1 นาที 7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือมาช่วยอีก ให้แบ่งการทำหน้าที่กัน เช่น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1
ผายปอด ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 กดนวดหัวใจ
ถ้าผู้ช่วยเหลือแต่ละคนอาจเหนื่อยและต้องการเปลี่ยนหน้าที่กัน โดยการตะโกนว่า "เปลี่ยน"
ก็จะสลับหน้าที่กัน 8.
ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีบุคลากรนำอุปกรณ์มาช่วยเหลือเพิ่มเติม
และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
- การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
- 1. นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย ทำ head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง
จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้น 2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง
- 3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง 4.
จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย
- อันตรายของการทำ CPR ไม่ถูกวิธี
- 1. วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก , xiphoid หัก , กระดูกที่หักทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ
เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้ 2. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป
ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย
ทำให้ขาดออกซิเจน
- 3. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้ 4. การกดหน้าอกลึกเกินไป
ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
- 5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก
ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน
มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ (airway obstruction) การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน
ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป