Zusammenfassung der Ressource
การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของมนุษย์
- วัยทารก
- ในระยะแรกคลอดทารกจะมีน้ำหนักตัวลดลง แต่เมื่อปรับตัวได้ดีขึ้นน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจาก 6
เดือนไปแล้วอัตราการเพิ่มของน้ำหนักจะลดลง ความสูงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวของทารกในระยะแรกคลอด
ทารกจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ การเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การดูด
การกางนิ้วเท้าเมื่อถูกลูบเท้าเบาๆ การผวาเมื่อได้ยินเสียงดังๆ เป็นต้น
- ในระยะแรกคลอดทารกจะมีอาการตื่นเต้น ไม่แจ่มใสและชื่นบานสลับกันไป ซึ่งแยกได้ลำบาก ต่อมาอารมณ์จะค่อยๆ
พัฒนาขึ้นตามวุฒิภาวะและการเรียนรู้อาการที่แสดงออกทางอารมณ์ของทารกวัยนี้ ทำให้เห็นได้ว่าทารกวัยนี้อารมณ์โกรธ กลัว
อิจฉาริษยา อยากรู้อยากเห็น ดีใจ และรัก เช่น การส่งเสียงร้องเมื่อไม่พอใจ การถอยหนีหรือการร้องเมื่อเห็นคนแปลกหน้า
การเรียกร้องความสนใจเมื่อผู้ใหญ่ให้ความสนใจน้องที่เกิดใหม่หรือคนอื่นๆ มากกว่าตนเอง
การรื้อค้นสิ่งของต่างๆการหัวเราะโอบกอดพ่อแม่หรือคนที่คุ้นเคยเป็นต้น
- วัยเด็ก
- 1.1 พัฒนาการทางร่างกาย วัยนี้อัตราการเจริญเติบโตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
สัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนจากลักษณะของทารกอย่างเห็นได้ชัด ส่วนแขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว ไหล่กว้าง
มือและเท้าใหญ่ขึ้น โครงกระดูกแข็งขึ้น กล้ามเนื้อเติบโตและแข็งแรงขึ้น ในตอนปลายในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น เช่น
รู้จักกินข้าว แต่งตัว ใส่รองเท้าและอาบน้ำ หวีผมได้เอง ในระยะ 3-4 ปี จะเริ่มเดินได้อย่างมั่นคง ต่อจากนั้นก็จะสนใจการวิ่ง กระโดด
ห้อยโหน ในระยะนี้จึงสามารถหัดถีบจักรยานสามล้อ กระโดดเชือกและการฝึกการรำได้แล้วเป็นต้น
- 1.2 พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดโมโหง่าย โมโหร้ายอย่างไม่มีเหตุผล
มักขัดขืนและดื้อรั้นต่อพ่อแม่อยู่เสมอ เมื่อเด็กได้คบค้าสมาคมกับเพื่อนๆ อาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไป
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับอารมณ์เลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นสำคัญอีกด้วย
- วัยรุ่น
- 1. พัฒนาการด้านร่างกาย วัยรุ่นจะมีอัตราการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็วมาก
อวัยวะเพศทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเกือบเต็มที่แล้ว
มีการเจริญเติบโตและพัฒนาเข้าสู่วุฒิภาวะทางเพศคือมีความพร้อมที่จะเป็นพ่อเป็นแม่คนได้แล้ว ทั้งนี้ เพราะต่อมไร้ท่อต่างๆ
ผลิตฮอร์โมนซึ่งทำให้ร่างกายเจริญเติบโต โดยเฉพาะส่วนสูงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน
- 2. พัฒนาการทางร่างกาย วัยรุ่นเป็นช่วงที่มีอารมณ์รุนแรงและแปรเปลี่ยนได้ง่าย เช่น ในขณะที่มีอารมณ์ร่าเริงอยู่
จู่ๆก็อาจซึมเศร้าหรือหงุดหงิด โกรธง่ายเมื่อถูกขัดใจ และมักแสดงอาการก้าวร้าว
โดยปกติวัยนี้เป็นวัยที่ร่าเริงและจะทำกิจกรรมต่างๆที่ตนเองสนใจด้วยความสุข
ถ้าเมื่อใดไม่มีอิสระที่จะทำอะไรได้ตามใจก็มักเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เด็กวัยรุ่น จะมีความคิดเป็นของตนเอง
และรู้สึกว่าตนเองโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจึงอยากทำอะไรตามความต้องการของตนเอง ทำให้มักเกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นได้บ่อยๆ
- วัยผู้ใหญ่
- วัยผู้ใหญ่ คือ ช่วงอายุ ๒๐ – ๖๐ ในช่วงต้นของวัยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายอย่างเต็มที่แต่ในช่วงท้ายของวัย หรือที่เรียกว่า วัยทอง
ร่างกาย จะเริ่มเสื่อมสภาพลง ในวัยผู้ใหญ่ จะมีกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น เริ่มรู้จักคิดไตร่ตรองมากขึ้น
คนในวัยนี้มีบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ทำให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นและเมื่อถึงช่วงท้ายของวัย อาจกังวลกับความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตได้
จนทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์
- 1.พัฒนาการทางร่างกาย บุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์
มีการพัฒนาความสูงมาจากวัยรุ่นและจะมีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ รวมทั้งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน
มีการพัฒนาอย่างเต็มที่เช่นกัน
- 2.พัฒนาการด้านอารมณ์ วัยผู้ใหญ่จะมีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านอารมณ์รัก (Love) ได้ในหลายรูปแบบ เช่น รักแรกพบ (Infatuation) หรือรักแบบโรแมนติก
(Romantic love)
- 3.พัฒนาการด้านสังคม ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน วัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ในขั้นพัฒนาการขั้นที่ 6 คือความใกล้ชิดสนิทสนมหรือการแยกตัว
(intimacy and solidarity vs. isolation) สังคมของบุคคลวัยนี้คือ เพื่อนรัก คู่ครอง บุคคลจะพัฒนาความรัก ความผูกพัน
แสวงหามิตรภาพที่สนิทสนม หากสามารถสร้างมิตรภาพได้มั่นคง จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไว้เนื้อเชื่อใจและนับถือซึ่งกันและกัน
ตรงข้ามกับผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถสร้างความสนิทสนมจริงจังกับผู้หนึ่งผู้ใดได้จะมีความรู้สึกอ้างว้างเดียวดาย (isolation) หรือเป็นคนที่หลงรักเฉพาะตนเอง
(narcissism)
- วัยสูงอายุ
- 1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เซลล์ต่างๆเริ่มตายและมีเซลล์ใหม่เกิดทดแทนได้น้อยและเชื่องช้า ร่างกายสึกหรอ บุคลิกภาพเสีย เช่น
หลังโกง ผมหงอก
- 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ บุคคลวัยนี้มักจะชอบบ่น อารมณ์ไม่คงที่ โกรธง่าย แต่บางรายใจดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สิ่งแวดล้อม สังคม และประสบการณ์ที่ผ่านมา
และขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในครอบครัวด้วย ความพอใจของคนวัยชรา
- 3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม บุคคลวัยนี้ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องวัด ธรรมะธัมโม ใจบุญสุนทาน บางรายสละเพศเข้าสู่บรรพชิตอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม บางรายสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจบังคับให้ไม่สามารถทำตามที่ใจปรารถนาได้ ต้องหา
- 4. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา บุคคลวัยนี้มักจะมีความคิดอ่านที่ดี สุขุมรอบคอบ แต่ขาดความคิดริเริ่ม
มักยึดถือหลักเกณฑ์ที่ตนเองเชื่อ หลงลืมง่าย ความจำเลอะเลือน ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นไปได้ยากมากวัยชรา