Zusammenfassung der Ressource
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Disease)
- ความหมาย
- โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วยส่วน รูจมูก (Nostrill), โพรงจมูก (Nasal cavity), คอหอย (Pharynx), หลอดลม (trachea), ขั้วปอด (Bronchus) และปอด (alveolu) ตามลำดับ อวัยวะต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่หลักสำหรับช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้กับเลือดผ่านการหายใจเข้า และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ร่างกายผ่านการหายใจออก โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นที่ถุงลมปอด
- โรคในระบบทางเดินหายใจ
- โรคหลอดลมอักเสบ
- โรคไอกรน
- โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ
- โรคปอดบวม
- โรคคอตีบ
- โรคปอดอักเสบ
- โรคเชื้อราในปอด
- โรควัณโรค
- โรคหอบหืด
- โรคหวัด
- โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)
- โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก
- โรคมะเร็งกล่องเสียง
- โรคมะเร็งปอด
- โรคถุงลมปอดโป่งพอง
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด
- โรคปอดจากโลหะหนัก
- โรคพยาธิใบไม้ปอด
- อวัยวะส่วนต่างๆ และหน้าที่ ในระบบทางเดินหายใจ
- รูจมูก เป็นส่วนนอกสุดของระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศ
- โพรงจมูก (Nasal cavity) เป็นทางผ่านของอากาศที่ถัดมาจากรูจมูก ภายในโพรงประกอบด้วยขนเล็กๆที่เป็นเซลล์เยื่อบุผิว ทำหน้าที่ในการอุ่นอากาศ และช่วยกรองละอองฝุ่นขนาดเล็กก่อนเข้าสู่ปอด
- คอหอย (Pharynx) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบน ของจุดเชื่อมต่อระหว่างช่องอากาศที่จะเข้าปอด และกล่องเสียงกับหลอดอาหาร
- หลอดลม (trachea) มีลักษณะเป็นท่อตรงยาวถึงขั้วปอด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนเรียงตัวในลักษณะ เป็นวงคล้ายรูปเกลือกม้า
- ขั้วปอด (Bronchus) เป็นจุดแยกของปอดซีกซ้าย และปอดซีกขวา
- ปอด ประกอบด้วยแขนงขั้วปวด หรือหลอดลมฝอย (Bronchiole) ที่แตกย่อยออกในเนื้อปอด และถุงลมขนาดเล็กในปอด (alveolu) ที่เชื่อมต่อกับหลอดลมฝอย เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
- สาเหตุการก่อโรค
- การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา โปรตัวซัว และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
- การหายใจเอาสารพิษหรือสารเคมี เช่น ไอระเหยของกรด ไอระเหยของโลหะหนัก เป็นต้น
- การสูบบุหรี่หรือสารเสพติดผ่านทางระบบหายใจ
- การเกิดอุบัติเหตุที่เกิดการกระแทกอย่างแรง บริเวณอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดทะลุจากอุบัติเหตุ
- อาการเบื้องต้นของโรค
- เป็นหวัด ไอ จาม มีเสมหะ
- หายใจลำบาก ติดขัด แน่นหน้าอก
- หายใจตื้น หายใจสั้น
- หายใจมีเสียงดัง
- มีการอักเสบของอวัยวะส่วนต้น จมูก โพรงจมูก หลอดลม
- กลืนอาหารลำบาก
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- การตรวจวินิจฉัย
- การตรวจด้วยการ เอกซเรย์ปอด (x-ray)
- การตรวจเอกซเรย์ ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose computed tomography)เพื่อให้เห็นภาพแบบ 3 มิติ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
- การตรวจโดยใช้สารกัมมันตรังสีดูความสัมพันธ์ ระหว่างการหายใจกับเลือดที่ไปเลี้ยงที่ปอด (ventilation-perfusion scan)
- การตัดชิ้นเนื้อวิเคราะห์ (biopsy)
- การส่องกล้อง
- การตรวจสมรรถภาพปอด (pulmonary function testing)
- การทดสอบความไวของหลอดลม โดยใช้สารกระตุ้น methacholine
- การตรวจการนอนหลับ (sleep test) สำหรับประเมิน และวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับนอนหลับ เช่น โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ
- การรักษา
- การรักษาโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจ ขึ้นอยู่กับชนิด และสาเหตุของโรค
- โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคปอดบวม โรคหวัด โรควัณโรค จะใช้วิธีการให้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก
- โรคที่เกิดจากภาวะเนื้อเยื่อผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งปอด อาจใช้วิธีการผ่าตัด เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
- โรคที่เกิดภาวะการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อาจใช้วิธีการให้ยากระตุ้นการขยายตัว ของหลอดลม รวมไปถึงยาสเตียรอยด์ชนิดต่างๆ
- การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ
- การแพร่ระบาดของโรคในระบบทางเดินหายใจ มักพบมีการแพร่ผ่านการสูดหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อโรคปะปนเข้าใป ดังนั้น การป้องกันที่ดีจึงต้องป้องกันที่ทางผ่านของเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวทางในการป้องกัน ดังนี้
- การสวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่าย เช่น โรงพยาบาลหรือสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่ที่มีผู้คนแออัด หรือสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หากจำเป็นควรสวมผ้าปิดจมูกทุกครั้ง
- หมั่นทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า และสถานที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ