null
US
Sign In
Sign Up for Free
Sign Up
We have detected that Javascript is not enabled in your browser. The dynamic nature of our site means that Javascript must be enabled to function properly. Please read our
terms and conditions
for more information.
Next up
Copy and Edit
You need to log in to complete this action!
Register for Free
7241866
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Disease)
Description
โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วยส่วน รูจมูก (Nostrill), โพรงจมูก (Nasal cavity), คอหอย (Pharynx), หลอดลม (trachea), ขั้วปอด (Bronchus) และปอด (alveolu) ตามลำดับ อวัยวะต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่หลักสำหรับช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้กับเลือดผ่านการหายใจเข้า และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ร่างกายผ่านการหายใจออก โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นที่ถุงลมปอด
No tags specified
1
Mind Map by
Nongnapat Tipmungin
, updated more than 1 year ago
More
Less
Created by
Nongnapat Tipmungin
about 8 years ago
595
0
0
Resource summary
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Disease)
ความหมาย
โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วยส่วน รูจมูก (Nostrill), โพรงจมูก (Nasal cavity), คอหอย (Pharynx), หลอดลม (trachea), ขั้วปอด (Bronchus) และปอด (alveolu) ตามลำดับ อวัยวะต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่หลักสำหรับช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้กับเลือดผ่านการหายใจเข้า และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ร่างกายผ่านการหายใจออก โดยกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นที่ถุงลมปอด
โรคในระบบทางเดินหายใจ
โรคหลอดลมอักเสบ
โรคไอกรน
โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ
โรคปอดบวม
โรคคอตีบ
โรคปอดอักเสบ
โรคเชื้อราในปอด
โรควัณโรค
โรคหอบหืด
โรคหวัด
โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)
โรคมะเร็งหลังโพรงจมูก
โรคมะเร็งกล่องเสียง
โรคมะเร็งปอด
โรคถุงลมปอดโป่งพอง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด
โรคปอดจากโลหะหนัก
โรคพยาธิใบไม้ปอด
อวัยวะส่วนต่างๆ และหน้าที่ ในระบบทางเดินหายใจ
รูจมูก เป็นส่วนนอกสุดของระบบทางเดินหายใจ ที่เป็นทางผ่านเข้าออกของอากาศ
โพรงจมูก (Nasal cavity) เป็นทางผ่านของอากาศที่ถัดมาจากรูจมูก ภายในโพรงประกอบด้วยขนเล็กๆที่เป็นเซลล์เยื่อบุผิว ทำหน้าที่ในการอุ่นอากาศ และช่วยกรองละอองฝุ่นขนาดเล็กก่อนเข้าสู่ปอด
คอหอย (Pharynx) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบน ของจุดเชื่อมต่อระหว่างช่องอากาศที่จะเข้าปอด และกล่องเสียงกับหลอดอาหาร
หลอดลม (trachea) มีลักษณะเป็นท่อตรงยาวถึงขั้วปอด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนเรียงตัวในลักษณะ เป็นวงคล้ายรูปเกลือกม้า
ขั้วปอด (Bronchus) เป็นจุดแยกของปอดซีกซ้าย และปอดซีกขวา
ปอด ประกอบด้วยแขนงขั้วปวด หรือหลอดลมฝอย (Bronchiole) ที่แตกย่อยออกในเนื้อปอด และถุงลมขนาดเล็กในปอด (alveolu) ที่เชื่อมต่อกับหลอดลมฝอย เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
สาเหตุการก่อโรค
การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา โปรตัวซัว และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
การหายใจเอาสารพิษหรือสารเคมี เช่น ไอระเหยของกรด ไอระเหยของโลหะหนัก เป็นต้น
การสูบบุหรี่หรือสารเสพติดผ่านทางระบบหายใจ
การเกิดอุบัติเหตุที่เกิดการกระแทกอย่างแรง บริเวณอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดทะลุจากอุบัติเหตุ
อาการเบื้องต้นของโรค
เป็นหวัด ไอ จาม มีเสมหะ
หายใจลำบาก ติดขัด แน่นหน้าอก
หายใจตื้น หายใจสั้น
หายใจมีเสียงดัง
มีการอักเสบของอวัยวะส่วนต้น จมูก โพรงจมูก หลอดลม
กลืนอาหารลำบาก
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจด้วยการ เอกซเรย์ปอด (x-ray)
การตรวจเอกซเรย์ ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT scan)
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose computed tomography)เพื่อให้เห็นภาพแบบ 3 มิติ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
การตรวจโดยใช้สารกัมมันตรังสีดูความสัมพันธ์ ระหว่างการหายใจกับเลือดที่ไปเลี้ยงที่ปอด (ventilation-perfusion scan)
การตัดชิ้นเนื้อวิเคราะห์ (biopsy)
การส่องกล้อง
การตรวจสมรรถภาพปอด (pulmonary function testing)
การทดสอบความไวของหลอดลม โดยใช้สารกระตุ้น methacholine
การตรวจการนอนหลับ (sleep test) สำหรับประเมิน และวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับนอนหลับ เช่น โรคนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ
การรักษา
การรักษาโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจ ขึ้นอยู่กับชนิด และสาเหตุของโรค
โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคปอดบวม โรคหวัด โรควัณโรค จะใช้วิธีการให้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก
โรคที่เกิดจากภาวะเนื้อเยื่อผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งปอด อาจใช้วิธีการผ่าตัด เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
โรคที่เกิดภาวะการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อาจใช้วิธีการให้ยากระตุ้นการขยายตัว ของหลอดลม รวมไปถึงยาสเตียรอยด์ชนิดต่างๆ
การป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ
การแพร่ระบาดของโรคในระบบทางเดินหายใจ มักพบมีการแพร่ผ่านการสูดหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อโรคปะปนเข้าใป ดังนั้น การป้องกันที่ดีจึงต้องป้องกันที่ทางผ่านของเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวทางในการป้องกัน ดังนี้
การสวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่าย เช่น โรงพยาบาลหรือสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่ที่มีผู้คนแออัด หรือสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หากจำเป็นควรสวมผ้าปิดจมูกทุกครั้ง
หมั่นทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า และสถานที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ
Show full summary
Hide full summary
Want to create your own
Mind Maps
for
free
with GoConqr?
Learn more
.
Similar
Hitler's rise to Chancellorship Jan '33
Simon Hinds
computer systems and programming quiz
Molly Batch
Physics: Energy resources and energy transfer
katgads
How Parliament Makes Laws
harryloftus505
A-level Maths: Key Differention Formulae
humayun.rana
National 5 Biology: Cell Biology
Mhairi McCann
Peace and Conflict Flashcards - Edexcel GCSE Religious Studies Unit 8
nicolalennon12
Maths GCSE - What to revise!
livvy_hurrell
Renal System A&P
Kirsty Jayne Buckley
Aggregate Supply, Macroeconomic Equilibrium, The Economic Cycle, Economic Growth, Circular Flow and Measuring National Income
Hannah Nad
New PSBD Question
gems rai
Browse Library