อริยสัจ 4

Description

ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
kongpop113
Mind Map by kongpop113, updated more than 1 year ago
kongpop113
Created by kongpop113 over 11 years ago
7100
3

Resource summary

อริยสัจ 4

Annotations:

  • ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ
  1. ทุกข์

    Annotations:

    • สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
    1. ชาติ
      1. ชรา
        1. มรณะ
          1. โสกะ
            1. ปริเทวะ
              1. ทุกข์กาย
                1. โทมนัส
                  1. อุปายาส
                    1. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
                      1. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
                        1. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
                        2. สมุทัย

                          Annotations:

                          • สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
                          1. กามตัณหา

                            Annotations:

                            • ความอยากในกาม ความเยื่อใยในกาม ฯลฯ โดยทั่วไปหมายถึงความอยากในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ ใจความสูงสุดของกามตัณหา หมายถึงความยินดี ความติดใจ ความพอใจในกามภพอันเป็นที่เกิดของผู้ยังเกี่ยวข้องด้วยกามซึ่งพร้อมมูลด้วยกามได้แก่โลกมนุษย์และเทวโลก
                            1. ภวตัณหา

                              Annotations:

                              • ความอยากมีอยากเป็น คืออยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ภวตัณหา ใจความสูงสุดหมายถึงความกำหนัดยินดีในรูปภพและอรูปภพ คือความพอใจติดใจในฌานด้วยความปรารถนาภพ อันเป็นความยินดีที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิ คือความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเบญจขันธ์เป็นของเที่ยงแท้ ยั่งยืน มีติดต่อกันไปไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคืออยากเกิดอยากเป็นเช่นที่เป็นอยู่ตลอดไป
                              1. ภวตัณหา

                                Annotations:

                                • ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น คืออยากจะพ้นจากภาวะที่ตนไม่ต้องการไม่อยากได้ เช่น อยากพ้นจากความยากจนจากความเจ็บไข้ พ้นจากความยากจน หรือ ไม่อยากเจอหน้าคนที่เราไม่ชอบใจ เป็นต้น วิภวตัณหา อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ความคิดที่ผิด (อุจเฉททิฐิ) คือ เห็นว่าภพชาติไม่มี อันเป็นความความเห็นผิดที่ทำให้ไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ เพราะความเห็นชนิดนี้เชื่อว่าชาติหน้าไม่มี คนเราตายแล้วสูญ จึงทำให้ปฏิบัติตนไปตามใจปรารถนาด้วยอำนาจของตัณหา โดยไม่กังวลถึงผลที่จะตามมาภายหลัง
                              2. นิโรธ

                                Annotations:

                                • ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง   นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นนิโรธเป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นิโรธ มี 5 ประการ โดยมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ)วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ) 
                                1. ปหาน - การละกิเลส
                                  1. ตทงฺคปหาน ได้แก่การละกิเลสได้ชั่วขณะ
                                    1. วิกฺขมฺภนปหาน ได้แก่การข่มนิวรณ์
                                      1. สมุจฺเฉทปหาน ได้แก่การละกิเลสได้โดยเด็ดขาด
                                      2. วิมุตติ - การหลุดพ้น
                                        1. ตทังควิมุตติ - การพ้นไปจากอำนาจ"ตัวกู-ของกู"

                                          Annotations:

                                          • การพ้นไปจากอำนาจของ"ตัวกู-ของกู"ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
                                          1. วิกขัมภนวิมุตติ - ความดับแห่ง"ตัวกู"

                                            Annotations:

                                            • ความดับแห่ง"ตัวกู" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
                                            1. สมุจเฉทวิมุตติ - ความดับ"ตัวกู"

                                              Annotations:

                                              • ความดับ"ตัวกู" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง
                                            2. วิเวก - ความสงัด
                                              1. กายวิเวก - ความสงัดกาย

                                                Annotations:

                                                • ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี
                                                1. จิตตวิเวก - ความสงัดใจ

                                                  Annotations:

                                                  •  ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ
                                                  1. อุปธิวิเวก - ธรรมอันเป็นที่สงบ

                                                    Annotations:

                                                    • ธรรมอันเป็นที่สงบระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์อันเหตุสร้างกรรมทางกาย วาจา(อุปธิ)
                                                  2. วิราคะ - ความคลายกำหนัด

                                                    Annotations:

                                                    • ความปราศจากราคะ, ความไม่พึงใจ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; นิพพาน
                                                    1. โวสสัคคะ - ความสละ
                                                      1. นิโรธ 5
                                                        1. วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้
                                                          1. ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ
                                                            1. สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด
                                                              1. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค
                                                                1. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป
                                                              2. มรรค

                                                                Annotations:

                                                                • แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
                                                                1. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ
                                                                  1. ความรู้อริยสัจ 4
                                                                    1. เห็นไตรลักษณ์
                                                                      1. อนิจจตา
                                                                        1. ทุกขตา
                                                                          1. อนัตตา
                                                                          2. เห็นปฏิจสมุปบาท
                                                                            1. รู้อกุศลและอกุศลมูล
                                                                              1. รู้กุศลและกุศลมูล
                                                                              2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
                                                                                1. ความดำริที่ปลอดจากโลภะ
                                                                                  1. ดำริในอันไม่พยาบาท
                                                                                    1. ดำริในอันไม่เบียดเบียน
                                                                                    2. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ
                                                                                      1. งดเว้นจากการพูดเท็จ
                                                                                        1. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
                                                                                          1. งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
                                                                                            1. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
                                                                                            2. สัมมากัมมันตะ - กระทำชอบ
                                                                                              1. การงดเว้นการฆ่าสัตว์
                                                                                                1. การงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
                                                                                                  1. การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                                                                                                  2. สัมมาอาขีวะ - เลี้ยงชีพชอบ
                                                                                                    1. เว้นมิจฉาอาชีวะ
                                                                                                      1. การโกง หรือ หลอกลวง
                                                                                                        1. ประจบสอพลอ บีบ บังคับขู่เข็ญ
                                                                                                          1. แสวงหาลาภโดยไม่ประกอบด้วยความเพียร
                                                                                                            1. การต่อลาภด้วยลาภ
                                                                                                          2. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
                                                                                                            1. มิให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น
                                                                                                              1. ละอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
                                                                                                                1. ให้กุศลธรรที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
                                                                                                                  1. รักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม
                                                                                                                  2. สัมมาสมาธิ - ระลึกชอบ

                                                                                                                    Annotations:

                                                                                                                    • ความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌาน
                                                                                                                    1. ปฐมฌาน
                                                                                                                      1. ทุติยฌาน
                                                                                                                        1. ตติยฌาน
                                                                                                                          1. จตุตถฌาน
                                                                                                                          2. สัมมาสติ - ตั้งใจมั่นชอบ

                                                                                                                            Annotations:

                                                                                                                            • การมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน ในสภาวะทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ตามความจำกัดความแบบพระสูตร คือหลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น 4
                                                                                                                            1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในกาย
                                                                                                                              1. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในเวทนา
                                                                                                                                1. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในธรรม คือ สัญญา และสังขาร
                                                                                                                                  1. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในจิต
                                                                                                                                Show full summary Hide full summary

                                                                                                                                Similar

                                                                                                                                Acids and Bases
                                                                                                                                silviaod119
                                                                                                                                Mapa Mental - Como Criar um Mapa Mental
                                                                                                                                miminoma
                                                                                                                                ACT Quiz
                                                                                                                                Brad Hegarty
                                                                                                                                Biology AQA 3.1.5 The Biological basis of Heart Disease
                                                                                                                                evie.daines
                                                                                                                                Geography Coasts Questions
                                                                                                                                becky_e
                                                                                                                                C1, C2, C3 keywords
                                                                                                                                Jessica Phillips
                                                                                                                                Devices That Create Tension.
                                                                                                                                SamRowley
                                                                                                                                B6 - Brain and Mind OCR
                                                                                                                                franimal
                                                                                                                                Linking Rossetti and A Doll's House
                                                                                                                                Mrs Peacock
                                                                                                                                ASSD & PSBD QUESTION 2018 200
                                                                                                                                Dhiraj Tamang
                                                                                                                                MAPA MENTAL DISEÑO GRAFICO
                                                                                                                                Lizbeth Domínguez