Zusammenfassung der Ressource
โขน
- ความหมาย
- นาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
- ปรับปรุงจากการเล่น 3 ประเภท
- หนังใหญ่
- ชักนาคดึกดำบรรพ์
- กระบี่กระบอง
- ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ
- เรื่องที่แสดงนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุฑ
- มักนิยมแสดงเป็นมหกรรมบูชาเจ้านายชั้นสูง
- ประเภท
- โขนกลางแปลง
- การแสดงโขนบนพื้นดิน ไม่มีการสร้างโรง
- ผู้แสดงเล่นกลางสนาม
- นิยมแสดงตอนยกทัพรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์
- ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นวงปี่พาทย์อย่างน้อย 2 วง
- วิวัฒนาการมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เรื่องกวนน้ำอมฤต
- มีการเต้นประกอบหน้าพาทย์และอาจมีบทพาทย์และเจรจาบ้าง แต่ไม่มีบทร้อง
- โขนโรงนอก (โขนนั่งราว)
- การแสดงโขนที่แสดงบนโรงมีหลังคา มีราวพาดตามส่วนยาวของโรง
- มีการพากย์และเจรจา แต่ไม่มีการร้อง
- ปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ๒ วง เพราะต้องบรรเลงมาก
- เป็นที่มาของการเรียกว่าวงหัวและวงท้ายหรือวงซ้ายและวงขวา
- ตัวละครที่จะนั่งราวได้จะต้องเป็นตัวสูงศักดิ์
- วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง
- โขนหน้าจอ
- โขนที่เล่นตรงหน้าจอ ซึ่งเดิมขึงไว้สำหรับเล่นหนังใหญ่
- โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดงสลับกับการเชิดตัวหนัง (หนังติดตัวโขน)
- ศิลปะสำคัญในการแสดงคือการพากย์และเจรจา
- ดนตรีที่ใช้ : ปี่พาทย์
- ผู้เชิดตัวหนังจะต้องเต้นตามจังหวะดนตรีและลีลาท่าทางของตัวหนัง
- โขนโรงใน
- โขนที่นำเอาศิลปะของละครในมาผสม
- ในรัชกาลที่ 1-2 มีการปรับปรุงขัดเกลาและประพันธ์บทพากย์ บทเจรจาให้มีความไพเราะ สละสลวยมากยิ่งขึ้น
- ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนางและเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวมหัวโขนในการแสดง
- การพากย์และเจรจาตามแบบฉบับของการแสดงโขน
- นำเพลงขับร้องประกอบอากัปกิริยาอาการของตัวละคร
- ใช้ปี่พาทย์บรรเลง 2 วง
- โขนที่แสดงปัจจุบันนี้ ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงใน ไม่ว่าจะแสดงกลางแจ้งหรือแสดงหน้าจอก็ตาม
- โขนฉาก
- ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)
- มีการจัดฉากในการแสดงแบบละครดึกดำบรรพ์
- แบ่งเป็นฉากเป็นองก์ เข้ากับเหตุการณ์และสถานที่จึงเรียกว่าโขนฉาก
- วิธีแสดงดำเนินเช่นเดียวกับโขนโรงใน
- กรมศิลปากรได้ทำบทเป็นชุดๆ ไว้หลายชุด
- ชุดปราบกากนาสูร
- ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ
- ชุดนางลอย
- ชุดนาคบาศ
- ชุดพรหมาสตร์
- ชุดศึกวิรุญจำบัง
- ลักษณะบทโขน
- บทร้อง
- แต่งเป็นกลอนบทละครเป็นส่วนใหญ่
- อาจมีคำประพันธ์ชนิดอื่นบ้างแต่ไม่นิยม
- จะมีเฉพาะโขนโรงในและโขนฉากเท่านั้น
- บทพากย์
- เดินเรื่องด้วยบทพากย์
- แต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดกาพย์ฉบัง ๑๖ หรือกาพย์ยานี ๑๑
- วิธีดูโขน
- ผู้ดูต้องดูการแสดงท่าทาง ซึ่งจะบอกความหมาย ความรู้สึก
- หน้าพาทย์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดงโขนจึงมีความสำคัญมาก
- ท่าทางที่โขนแสดงออกย่อมสัมพันธ์กับดนตรี